วันที่ 9 กรกฎาคม 2562 นายชัชวาลย์ ลือคำหาญ นายกเทศมนตรีตำบลกุดจับ พร้อมคณะผู้บริหาร เข้าร่วมประชุมสถานการณ์การเฝ้าติดตามโรคไข้เลือดออก โดยสาธารสุขอำเภอกุดจับจัดประชุมหารือ อสม.ให้ความรู้ในแนวทางการป้องกันดังนี้
การป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงลายกัด
1. นอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวด
2. จุดยากันยุงหรือใช้ยาทาหรือยาฉีดกันยุง และควรใช้อย่างระมัดระวัง
3. ไม่ควรอยู่ในบริเวณที่อับลมหรือเป็นมุมมืด มีแสงสว่างน้อย
4. หมั่นอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดเพราะเหงื่อจะดึงดูดให้ยุงกัดมากขึ้น
วิธีควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทำได้ดังนี้
1. กำจัด - ทำลาย - ฝัง - เผา เศษภาชนะที่ไม่ใช้ภายในบ้านและบริเวณรอบบ้านไม่ให้มีน้ำขัง
2. ควรปิดฝาโอ่งน้ำดื่ม น้ำใช้ ให้สนิท
3. ใส่ผงซักฟอกหรือน้ำส้มสายชูหรือเกลือแกงหรือขี้เถ้าหรือทรายอะเบต หรือเทน้ำเดือดลงในจานรองขาตู้ทุกสัปดาห์
4. ใส่ปลาหางนกยูงลงในอ่างบัว ถังเก็บน้ำในห้องน้ำเพื่อกินลูกน้ำ
5. ขัดล้างภาชนะเก็บกักน้ำ เพื่อขจัดยุงลาย
6. เปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ทุก 7 วัน เพื่อทำลายไข่ยุงลาย
7. ทำความสะอาดรางระบายน้ำฝนให้สะอาด
8. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมรอบบ้าน ชุมชน ให้สะอาด
การดูแลตนเอง
1. ในระยะ 2 - 3 วันแรกของการเป็นไข้ถ้ายังรับประทานอาหารและดื่มน้ำได้ ไม่อาเจียน ไม่ปวดท้อง ไม่มีจ้ำเลือดขึ้นและยังไม่มีอาการเลือดออกหรือภาวะช็อกเกิดขึ้น ควรปฏิบัติดังนี้
- ให้ผู้ป่วยพักผ่อนมากๆ
- หากมีไข้สูงให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อยๆและให้ยาลดไข้พาราเซตามอล ผู้ใหญ่กิน 1-2 เม็ด เด็กโต ½ - 1 เม็ด เด็กเล็กใช้ชนิดน้ำเชื่อม 1- 2 ช้อนชา ถ้ายังมีไข้รับประทานซ้ำได้ทุก 6 ชั่วโมง ห้ามให้ยาแอสไพริน โดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้มีเลือดออกได้ง่ายขึ้น
- ถ้าเป็นผู้ป่วยเด็กและเคยชัก ควรให้รับประทานยากันชักไว้ก่อน
- รับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก และดื่มน้ำมากๆ
- เฝ้าสังเกตอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
2. ถ้าผู้ป่วยอาเจียนมากหรือมีเลือดออกหรือมีภาวะช็อกเกิดขึ้นควรรีบส่งโรงพยาบาล
เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยว ไข้เลือดออก
ถึงแม้ว่าเราจะรู้สาเหตุว่า 'โรคไข้เลือออก' นั้นเกิดมาจากอะไร และควรที่จะปฏิบัติตัวเพื่อให้ห่างไกลสิ่งเหล่านั้นอย่างไร แต่ก็ยังข้อมูลอีกไม่น้อยที่เป็นความเชื่อผิด รวมถึงสิ่งที่ยังไม่รู้อีกมาก วันนี้เราจะลองเอาให้ได้ทบทวนกันอีกครั้ง เพื่อให้การป้องกันไข้เลือดออกสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
1. เมื่อเป็นไข้เลือดออกแล้วจะไม่กลับมาเป็นอีก
จริงๆ เรื่องนี้ก็มีทั้งถูกและผิด เพราะเมื่อเป็นไข้เลือดออกครั้งแรกแล้ว ร่างกายของเราก็จะมีภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นอีก แต่ ! เชื้อไว้รัสที่เป็นต้นตอของไข้เลือดออกนี้มีอยู่ 4 สายพันธุ์ หากติดเชื้อจากสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งแล้วก็จะมีภูมิคุ้มกันของสายพันธ์นั้น ถ้าหากเราติดเชื้อเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์กันกับในตอนแรก ภูมิคุ้มกันที่มีก็จะป้องกันสายพันธุ์ใหม่นี้ไม่ได้ทั้งหมด ก็อาจทำให้เป็นไข้เลือดออกได้อีก และอาจรุนแรงกว่าเดิมมาก
2. กลุ่มอายุที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก
จากเก็บรวบรวมข้อมูล ก็ยังพบว่ากลุ่มอายุที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 10 - 14 ปี รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 5 - 9 ปี , 15 - 24 ปี , 25 - 34 ปี ปิดท้ายด้วยกลุ่มอายุ 0 - 4 เดือน ซึ่งผู้ป่วยที่พบได้มากที่สุดจะเป็น นักเรียน ฉะนั้น เมื่อต้องใช้ชีวตอยู่ในโรงเรียนก็ต้องระมัดระวังไม่ให้อยู่กัด หรืออยู่ในบริเวณน้ำขังที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงได้
3. ถึงมีผู้ป่วยมาก แต่ก็ยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี่
รู้กันดีว่าโรคไข้เลือดออกนั้นเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ ซึ่งตอนนี้ทางการแพทย์ยังไม่มียาสำหรับฆ่าเชื้อให้หายได้ 100% เปอร์เซ็นต์ ทำได้เพียงรักษาไปตามอาการ ทั้งยังต้องเฝ้าระวังภาวะช็อกและเลือดออกอย่างใกล้ชิด โดยแพทย์ก็จะมีหลักในการรักษา คือ ให้ยาพาราเซตามอลในระยะที่มีไข้สูง ห้ามใช้ยาแอสไพริน เพราะจะทำให้อาการเลือดออกรุนแรงขึ้น ดูการเปลี่ยนแปลงของเกร็ดเลือดเป็นระยะ และมีให้สารน้ำชดเชยเพราะผู้ป่วยจะเบื่ออาหาร มีอาการอาเจียน ทำให้ขาดน้ำและโซเดียม นอกจากนั้น ยังต้องเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่จะตามมาด้วย
ณ หอประชุมอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ เทศบาลตำบลกุดจับ